Home Knowledges โรคภัยที่มากับน้ำท่วม

โรคภัยที่มากับน้ำท่วม

by Giztix
3243 views
โรคภัยที่มากับน้ำท่วม

ภาวะน้ำท่วม ไม่เพียงแต่ทำลายที่พักพิงและทรัพย์สินเท่านั้น ยังนำพาเหล่าโรคภัยมาประชาชนต้องทนทุกข์จากการต้องหาที่อยู่ ที่กินในช่วงน้ำท่วมเท่านั้น หากแต่ยังต้องดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคที่มาจากน้ำท่วมด้วย

โรคผิวหนัง
เป็นโรคที่มาจากการย่ำอยู่ในน้ำหรือแช่น้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาดไม่แห้งเป็นเวลานาน
การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น ถ้าต้องย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ และควรล้างเท้าให้สะอาดด้วยน้ำสบู่
2. หากมีบาดแผล ควรใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยยาฆ่าเชื้อ
3. ไม่ใส่เสื้อผ้าที่มีความอับชื้น และดูแลร่างกายให้สะอาดอยู่เสมอ

โรคระบบทางเดินหายใจ
ได้แก่ ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ ติดต่อโดยการหายใจเอาเชื้อที่อยู่ในละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยเข้าไป หรือใช้สิ่งของภาชนะร่วมกับผู้ป่วย ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลีย และอยู่รวมกันอย่างแออัด
การป้องกัน
1. ดูแลร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ไม่สวมเสื้อผ้าที่เปียกชื้น เช็ดตัวให้แห้ง หลีกเลี่ยงการแช่น้ำเป็นเวลานาน
2. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด
3. ปิดปากและจมูกเวลาไอ หรือ จาม
4. ล้างมือเป็นประจำ ด้วยน้ำ และสบู่

โรคตาแดง
ติดต่อได้ง่ายในเด็กเล็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส หากไม่ได้รับการรักษาอาจมีเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ อาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 1 – 2 วัน จะมีอาการระคายเคือง ปวดตา น้ำตาไหล กลัวแสง มีขี้ตามาก หนังตาบวม เยื่อบุตาขาวอักเสบแดง
การป้องกัน
1. ล้างด้วยน้ำสะอาดทันทีถ้ามีฝุ่นละอองหรือน้ำสกปรกเข้าตา
2. ไม่ควรขยี้ตาด้วยมือที่สกปรก อย่าให้แมลงตอมตา
3. แยกผู้ป่วยตาแดงออกจากคนอื่นๆ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกันเพื่อป้องกันการระบาดของโรค

โรคติดเชื้อระบบทางเดินอาหาร
เกิดจากเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายจากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค เช่น อาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารค้างคืนหรือเน่าบูด ได้แก่ โรคอุจจาระร่วง อาจมีมูกเลือดและมีการอาเจียนร่วมด้วย อหิวาตกโรค จะถ่ายเป็นน้ำคล้ายน้ำซาวข้าวทีละมากๆ อาการรุนแรง
การป้องกัน
1. ทานอาหารที่ปรุงสุกและสะอาด อาหารกระป๋องที่ยังไม่หมดอายุ กระป๋องไม่บวมหรือเป็นสนิม
2. ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำจากขวดที่ฝาปิดสนิท น้ำต้มสุก
3. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ทุกครั้ง ก่อนกินอาหาร และหลังการใช้ห้องน้ำห้องส้วม
4. ห้ามถ่ายอุจจาระลงในน้ำโดยตรง ถ้าส้วมใช้ไม่ได้ ให้ถ่ายลงในถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น แล้วนำไปใส่ในถุงขยะ 

โรคฉี่หนู
เชื้อไข้ฉี่หนูสามารถเข้าสู่ร่างกายคนเราได้โดยการเข้าทางบาดแผล หรือเข้าทางเยื่อบุอ่อนๆ เช่น ง่ามมือ ง่ามเท้า ตา ขณะที่แช่น้ำ หรือการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาดมีฉี่หนูปนเปื้อนในอาหารนั้นๆ
การป้องกัน
1. หลีกเลี่ยงการลุยน้ำลุยโคลน
2. ป้องกันไม่ให้บาดแผลสัมผัสถูกน้ำโดยการสวมร้องเท้าบู๊ทยาง
3. รีบล้างเท้าให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งโดยเร็วที่สุดเมื่อต้องลุยน้ำย่ำโคลน

โรคไข้เลือดออก
มียุงลายเป็นพาหะพบได้ทุกวัยในทุกพื้นที่ มีอาการไข้สูงตลอดทั้งวัน หน้าแดง เกิดจุดแดงๆ เล็กๆ ตามลำตัว ต่อมาไข้จะลดลง ซึ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเพราะอาจเกิดอาการรุนแรง มีความผิดปกติ เช่น ถ่ายดำ ไอปนเลือด เกิดภาวะช็อคและเสียชีวิตได้ 
การป้องกัน
1. ระวังอย่าให้ยุงกัดในเวลากลางวัน
2. นอนในมุ้ง ทายากันยุง
3. กำจัดลูกน้ำและแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยปิดฝาภาชนะเก็บน้ำไม่ให้มีน้ำขัง

Close-up of mosquito sucking blood from human arm.

โรคไข้มาลาเรีย
ติดต่อโดยยุงก้นปล่องเป็นพาหะนำเชื้อโรค มักพบในพื้นที่ป่าเขามีแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ อาการหลังรับเชื้อ 7 – 10 วัน จะปวดศีรษะ โดยทั่วไปคล้ายไข้หวัด แต่หลังจากนั้นจะหนาวสั่นและไข้สูงตลอดเวลา อันตรายถึงขั้นเสียชีวิต
การป้องกัน
1. ใส่เสื้อผ้าให้มิดชิด
2. นอนในมุ้ง ทายากันยุง

Mosquito macro photography

หลังน้ำลดแล้วย่าเพิ่งไว้วางใจ เพราะอาจมีสัตว์ร้ายแอบอยู่ซึ่งมากับน้ำท่วม เช่น ตะขาบ รวมไปถึงเชื้อราบนพื้น จึงยังไม่ควรใช้ผิวหนังสัมผัสโดยตรง และควรนำเอาข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ออกมาตากแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเปิดหน้าต่างบ้านให้อากาศถ่ายเท ให้แดดเข้าถึง

ขนย้ายของเข้า-ออก ปลอดภัย ให้นึกถึง GIZTIX online trucking service บริการจองรถเหมาคัน ขนส่งทั่วไทย ของเล็ก-ใหญ่ เราไม่เกี่ยง บริการประทับใจ จองได้ไว ส่งด่วน การันตีคุณภาพ

You may also like

Leave a Comment