ปัญหาการบรรทุกสินค้าเกินจากที่กฎหมายกำหนดแล้วยังส่งผลเสียด้านอื่นๆ ทั้งความเสียหายของผู้ประกอบการเอง และสังคมอีกด้วย 5 ปัญหาที่ส่งผลเสียมีดังนี้
- ความสูญเสียทางภาครัฐ รัฐต้องสูญเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากในการที่จะต้องบำรุงรักษาและบูรณะทางหลวง ซึ่งไม่คุ้มกับการลงทุนของภาครัฐ คิดเป็นมูลค่าปีละหลายพันล้านบาท
- ความสูญเสียของผู้ประกอบการ การต้องเสียค่าอุปกรณ์อะไหล่รถบรรทุกเพิ่มขึ้น การใช้รถบรรทุกไม่ได้ตามอายุที่กำหนด รวมทั้งการแก่งแย่งกันประกอบอาชีพ ทำให้มีรายได้ไม่แน่นอน
- ความสูญเสียของประชาชน ประชาชนใช้ถนนทั่วไป เกิดความไม่สะดวกสบาย เกิดความล่าช้าในการเดินทาง จากถนนชำรุดเนื่องจากรถบรรทุกน้ำหนักเกินทำให้ต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาที่มากขึ้น อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน
- ความสูญเปล่าของทรัพยากร การที่ทรัพยากรของประเทศ คือ ถนนถูกสร้างขึ้นมาแต่ถูกใช้อย่างไม่คุ้มค่าเงินลงทุนตามอายุการใช้งานที่ได้ออกแบบไว้
- ความไม่เป็นธรรมในสังคม การเปิดช่องให้เกิดการรีดไถ ความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงธุรกิจ และความไม่ปลอดภัยบนท้องถนน
ตามกฎหมายที่กำหนดแล้ว หากบรรทุกน้ำหนักเกินจากที่กำหนดมีบทลงโทษ จำชคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ทีมงานจึงรณรงค์ให้ผู้ประกอบการบรรทุกสินค้าตามน้ำหนักที่กฎหมายกำหนด
Cr. Giztix ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากสำนักงานควบคุมน้ำหนักยานพาหนะกรมทางหลวง