จะยอมรับหรือไม่ ความจริงที่การทุจริตในเอเชียเป็นที่เป็นเรื่องปกติทั่วไปจนถึงจุดที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่ยอมรับได้และเป็นกิจวัตรในการดำเนินธุรกิจ
ซีอีโอบริษัทชิปปิ้งต่างก็ดำเนินธุรกิจในสภาพแวดล้อมซับซ้อนที่ประเด็นด้านธุรกิจ, วัฒนธรรม, และการเมืองเข้ามามีบทบาท มีปัจจัยหลายอย่างด้วยกันที่ซีอีโอต้องคำนึงถึงเมื่อกระทำหรือตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ส่งผลต่อมูลค่าของบริษัท
บางครั้งการตัดสินใจเหล่านี้ก็ดูเหมือนจะสร้างรายได้, ปรับปรุงบรรทัดฐาน ,และลดต้นทุนบริษัท แต่ความจริงแล้วสิ่งเหล่านี้เป็นการตัดสินใจเชิงระยะสั้นที่ไม่เพียงจะส่งผลเชิงลบต่อมูลค่าบริษัท แต่ยังก่อให้เกิดผลเสียที่ตามมามากกว่าในด้านอุตสาหกรรมทั้งหมด การตัดสินใจเหล่านี้อาจมองว่าผิดกฎหมายในมุมมองตะวันตก แต่กับเอเชีย ถูกมองว่าเป็นวัฒนธรรมที่ปกติ
ธรรมเนียมการทุจริตที่แพร่หลายในเอเชีย
จะยอมรับหรือไม่ ความจริงที่การทุจริตในเอเชียเป็นที่เป็นเรื่องปกติทั่วไปจนถึงจุดที่เห็นว่าเป็นวิธีการที่ยอมรับได้และเป็นกิจวัตรในการดำเนินธุรกิจ ตามรายงานขององค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International) ประเทศส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิกติดอันดับอยู่ในครึ่งล่างของดัชนีการทุจริต 19 ใน 30 ประเทศของทวีปได้คะแนน 40 จาก 100 คะแนน (ประเทศไทยได้ 35 คะแนน ในปี 2016)
การทุจริตแพร่ระบาดในธุรกิจชิปปิ้งเนื่องจากความไม่ชัดเจน และการดำเนินการระหว่างประเทศที่มีความหลากหลายด้านวัฒนธรรม, เศรษฐกิจ, และสถานการณ์ทางการเมือง จึงเป็นการยากที่จะคำนึงถึงการทำตามมาตรฐานที่ต่อต้านการทุจริต, เคารพรัฐบาลหรือแม้แต่อุตสาหกรรมการขนส่งเองก็ตาม
ตัวอย่างเช่น: การดำเนินงานของสายงานชิปปิ้ง การติดตินบนกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นอย่างผู้ตรวจสอบสินค้าที่ท่าเรือก็เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ช่วยไหลลื่นขั้นตอนการดำเนินการผ่านท่าเรือหรือจุดตรวจ
การเติมน้ำมันแบบผิดกฎหมาย เกิดขึ้นเมื่อการถ่ายโอนน้ำมันระหว่างเรือกับเรือที่ไม่อยู่ในพื้นที่ที่กำหนด และไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมอย่างเป็นทางการ ผู้กระทำผิดอาศัยกฎหมายและข้อบังคับที่อ่อนแอเป็นข้อได้เปรียบ ทำให้ทีรายได้ในระหว่าง 40,000 – 640,000 ต่อรอบ ขึ้นอยู่กับสถานะ จากธรรมเนียมการทุจริตนี้
เพื่อแสดงถึงการเติมน้ำมันแบบผิดกฎหมายอย่างแพร่หลาย มีหลายครั้งที่เหตุการณืนี้เกินขึ้นที่สิงค์โปร์ ประเทศที่มีกฎหมายเข้มงวด, ข้อบังคับที่กว้างขวาง, และบทลงโทษอย่างหนัก มีกรณีล่าสุดบริษัทเจแอล ปิโตรเลียมได้ถูกฟ้องโดยศาลสิงค์โหร์หลังสารภาพความผิด ส่งน้ำมันทางทะเลโดยไม่มีใบอนุญาตที่ถูกต้อง
ตำรวจสิงค์โปร์กล่าวว่าการค้าน้ำมันเรือเป็นธุรกิจที่ร่ำรวย คนจำนวนมากถูกจับในข้อหาขโมย, ค้าขายและซื้อน้ำมันดีเซล
การโกงทางทะเล
ตามข้อมูลตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Bureua) การปล้นสะดมมากกว่าครึ่งกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในน่านน้ำอินโดนีเซีย, ช่องแคบมะละกา, และช่อบแคบสิงค์โปร์เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ มากเกือบ 40% ของการจู่โจมทั้งหมดของโลก
จำนวนและความถี่ของการจู่โจมที่กล่าวมา เป็นการยากที่จะคาดเดาว่านี่เป็นการสมรู้ร่วมคิดกับโจรสลัดหรือไม่ เพราะการทุจริตภายในอุตสาหกรรมกับเรือบริษัทที่ตกเป็นเป้าหมายเป็นข้อมูลที่สำคัญของโจรสลัดเพื่อวางอุบายเวลาและวิธีในการปล้นสินค้าและน้ำมันบนเรือ
อีกตัวอย่างของอุบายทางทะเล มีหลายกรณีที่บริษัทชิปปิ้งเพิกเฉยต่อบทลงโทษขององค์กรสหประชาชาติที่ต่อต้านประเทศที่แยกตัวออก กรณีล่าสุดกระทรวงการคลังสหรัฐ (United States Treasury Department) ได้แบล็คลิสต์บริษัทสิงค์โปร์: Senat Shipping เนื่องจากให้การสนับสนุน, รวมถึงลำเลียงการซื้อขาย, ซ่อมแซม, ออกใบอนุญาต, และให้การโดยสารไปยังเรือของบริษัทจัดการสายเรือของเกาหลีเหนือ องค์กรสหประชาชาติได้ลงโทษบริษัทจัดการสายเรือที่เกี่ยวข้องในการขนส่งอาวุธต้องห้าม
การเพิ่มมูลค่าด้วยการเริ่มปฏิรูปอุตสาหกรรม
การที่เรายังดำเนินธุรกิจเช่นนี้ ความจริงคือการทุจริตก็ยังสร้างความเสียหายให้กับอุตสาหกรรมการขนส่งในเอเชีย ไม่เพียงบริษัทที่เกี่ยวข้อง แต่ยังสะท้องถึงสภาพแย่ของภาพรวมอุตสาหกรรมโดยรวม การทุจริตที่กล่าวมาข้างต้น การเติมน้ำมันแบบผิดกฎหมาย และการสมรู้ร่วมคิดกับโจรสลัด โดยรากฐานแล้วเป็นการกัดกร่อนความสามารถในการดำเนินธุรกิจให้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างกำไร
มีหลายวิธีที่ช่วยให้อุตสาหกรรมโปร่งใสถูกกฎหมาย และมีกลไกการควบคุม แน่นอนว่าจะไม่เปลี่ยนแปลงในทันที แต่การเพิ่มขึ้นของการทุจริตในอุตสาหกรรมจะถูกยับยั้ง
หากซีอีโอตระหนัก และเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งสำคัณที่จะเพิ่มมูลค่าให้กับบริษัท และยกระดับภาพลักษณ์อุตสาหกรรมทั้งหมดแล้ว สิ่งนี้จะเป็นหนทางที่จะดึงดูดนักลงทุนและเงินทุนได้เป็นอย่างดี ดังนั้นซีอีโอต้องมีความกล้า และความเชื่อมั่นที่จะใช้มาตรการที่ถูกต้องกวาดล้างการทุจริต
เครดิต: ขอขอบคุณเนื้อหาที่น่าสนใจจาก Logistics Insight Asia
ที่มา: www.logasiamag.com/2017/06/dark-zone-asian-shipping-supply-chains/