Home Knowledges “๙” พระราชกรณียกิจ ด้านคมนาคมขนส่ง

“๙” พระราชกรณียกิจ ด้านคมนาคมขนส่ง

by Giztix
4320 views
“๙” พระราชกรณียกิจ ด้านคมนาคมขนส่ง

13 ต.ค. 2559 เป็นวันแห่งมหาวิปโยคอาดูรของพสกนิกรชาวไทยทั้งแผ่นดินอย่างถึงที่สุดหลังพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 เสด็จสวรรคต ธารน้ำตาแห่งความเศร้าโศกอาลัยได้ไหลนองแทรกทุกอณูแผ่นดินไทย ที่ได้สูญเสีย “พ่อแห่งแผ่นดิน” ผู้เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย

จากวันนั้นถึงวันนี้ไม่มีวันใดที่กว่า 65 ล้านดวงใจที่จะไม่คิดถึง “พ่อหลวง” ธ  สถิตย์ ณ แดนสรวง ได้เลย และ 26 ต.ค.2560 วันแห่งพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 จะเป็นวันแห่งมหาวิปโยคอาดูรของปวงชนชาวไทยทั้งแผ่นดินอีกครั้ง และทุกดวงใจไทยทั่วพื้นธานีสยามต่างน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ และร่วมเฝ้าถวายความอาลัยแด่ “พ่อของแผ่นดิน” เป็นครั้งสุดท้าย

ตลอดระยะเวลาการเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ 70 ปี ถือเป็น“70 ปี” แห่งการทรงงานหนักเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงแก่อาณาประชาราษฎร์ที่ยากจะมีพระมหากษัตริย์องค์ใดในโลกเสมอเหมือนพระองค์ได้ จนก่อเกิดโครงการในพระราชดำริมากกว่า 4,500 โครงการ

ประมวล “๙ รอยพระบาท” อันเป็นพระปรีชาสามารถและสายพระเนตรอันยาวไกล กิจการด้านการคมนาคมขนส่งจารึกไว้ในแผ่นดินไทย ดังนี้

1.ทรงเป็นแบบการเดินทาง“ทางรถไฟ”

พระองค์ให้ความสนพระทัยในการเดินทางทางรถไฟอย่างมาก “ท่านทรงมีพระราชดำรัสว่า จริง ๆ รถไฟนี้ได้ประโยชน์มาก ดีกว่าการคมนาคมทางถนนที่แพงมาก แต่ทางรถไฟถูกมาก” หมายความว่า เป็นสิ่งสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทย ถ้าทำได้สำเร็จ ฉะนั้นพระองค์ท่านทรงเป็นแบบอย่างเรื่องของการเดินทาง ในสมัยที่ท่านทรงเยี่ยมเยียนราษฎรในภูมิภาคไหนที่มีรถไฟท่านจะเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟ เป็นภาพที่เราเห็นประจำ

2.โครงการสร้างถนนเข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล

โครงการแรกทางถนน คือ โครงการสร้างถนน เข้าสู่หมู่บ้านห้วยมงคล ต.หินเหล็กไฟ (ปัจจุบันคือต.ทับใต้) จ.ประจวบคีรีขันธ์

3.รถไฟฟ้า

ด้านรถไฟฟ้าทรงมีพระราชดำรัสวันที่ 3 ก.ค. 2547 เมื่อครั้งเสด็จเปิดการเดินรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (หัวลำโพง-บางซื่อ) ว่า “การต่อขยายเส้นทางรถไฟฟ้ามีความจำเป็นต้องเกิดขึ้น เพราะจะแก้ไขปัญหาการจราจร เนื่องจากระยะทางหัวลำโพง-บางซื่อ เป็นระยะทางที่สั้น เพียง 20 กม.เท่านั้น”

4.โครงการทางคู่ขนานลอยฟ้าถนนบรมราชชนนี

โครงการฯ นี้กทม. ได้ดำเนินการตามพระราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงมีพระมหากรุณาคุณให้พสกนิกร เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ติดขัด จากเชิงสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้าจนถึงทางแยกสิรินธร

5.โครงการสะพานพระราม8

โครงการสะพานพระราม 8 หนึ่งในโครงการจตุรทิศ ที่ทรงมี พระราชดำริให้กรุงเทพมหานครก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มอีก 1 แห่ง เพื่อบรรเทาการจราจรบนสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า รองรับการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี

6.สนามบินสุวรรณภูมิ

ขณะที่ “ทางอากาศ” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อกิจการคมนาคมขนส่งทางอากาศของไทยมาโดยตลอด อันส่งผลให้การคมนาคมขนส่งทางอากาศมีความก้าวหน้า ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ โครงการสำคัญ ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์อาคารผู้โดยสารเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2545 และพระราชทานนาม “ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ” ความหมายเป็นมงคลนามว่า “แผ่นดินทอง”

7.โครงการ ถนนวงแหวนกาญจนาภิเษก (ถนนวงแหวนรอบนอกด้านใต้)

ถนนกาญจนาภิเษกสร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการจราจรที่ติดขัดในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่มีปริมาณการจราจรและการขนส่ง และเป็นทางเลี่ยงเมืองกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวเชื่อมทางสายหลักเข้าไปสู่ทุกภาคของประเทศ ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ 9 พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญชื่อ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่พระองค์ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปีในปี พ.ศ. 2539 มาเป็นชื่อเรียกถนนสายนี้

8.ก่อกำเนิดโครงข่ายทางด่วน

ส่วน “ทางด่วน” ที่สร้างโดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ก็เริ่มจากจุดที่พระองค์ท่านบอกว่าปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ เป็นปัญหาระดับชาติ กระทรวงคมนาคมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาคิด แล้วได้ ได้สร้าง “ทางพิเศษเฉลิมมหานคร” หรือทางด่วนขั้นที่ 1 เชื่อมโยงการคมนาคมในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้เข้าด้วยกัน ต่อมาก็มี “ทางด่วนเฉลิมมหานคร” ช่วงบางนา- จากนั้น กทพ.ได้ทยอยสร้างอีกหลายเท้นทางในเวลาต่อมา

9.โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม (สะพานภูมิพล 1, และ 2)

โครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรมเป็นวงแหวนรอบเล็กตามแนวพระราชดำริ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานแนวทางไว้ ตั้งแต่ พ.ศ.2538  เพื่อเป็นโครงข่ายถนนรองรับการขนส่งและลำเลียงสินค้าจากท่าเรือกรุงเทพ ต่อเนื่องไปถึงพื้นที่อุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการและพื้นที่อื่นๆ ของประเทศ เพื่อไม่ให้รถบรรทุกขนาดใหญ่เข้าไปในตัวเมืองหรือทิศทางอื่น

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก: Logistics Time

ที่มา: http://www.logisticstime.net/archives/7421

Leave a Comment