Home Knowledges “Copycat” ไม่ใช่แมว แต่เป็นพฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบ

“Copycat” ไม่ใช่แมว แต่เป็นพฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบ

by Giztix
3343 views
“Copycat” ไม่ใช่แมว แต่เป็นพฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบ

จากเหตุกราดยิงในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมาในช่วงค่ำของวันที่ 8 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา  ถือเป็นกรณีสะเทือนขวัญครั้งใหญ่สำหรับคนไทย สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับคนไทยเป็นอย่างยิ่ง และหลังจากเหตุการณ์นี้จบลงแล้วก็มีข่าวกราดยิงอีกหลายๆเหตุการณ์เกิดขึ้นตามมา จนเราอาจสงสัยได้ว่า บ้านเมืองเราไม่เคารพกฎหมายกันแล้วหรืออย่างไร ทำไมถึงได้เกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญซ้ำแล้วซ้ำอีก หรือการเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว อาจเป็น “Copycat” ก็เป็นได้

ข้อมูลจาก Gun Violence Archive (GVA) รายงานว่า ในปี 2562 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีเหตุการณ์กราดยิงเกิดขึ้นจำนวนถึง 417 ครั้ง ในจำนวนนี้ 31 ครั้งเป็นการสังหารหมู่ โดยตัวเลขดังกล่าวนับได้ว่าสูงที่สุดตั้งแต่เริ่มมีการเก็บข้อมูลในปี 2557 ของสหรัฐอเมริกา ทฤษฎีหนึ่งที่ได้รับการหยิบยกขึ้นเพื่ออธิบายเหตุผลของการกราดยิงที่สูงขึ้นนั้นคือ เรื่องของพฤติกรรมเลียนแบบ หรือที่เรียกกันว่า “Copycat” กลายเป็นเหมือนโรคระบาดไปทั่วทั้งในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และตอนนี้ในประเทศไทยก็มีเหตุการณ์คล้ายๆแบบนี้เกิดขึ้น ซึ่งมีงานวิจัยที่รองรับและสนับสนุนว่า เมื่อมีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้น เหตุการณ์ลักษณะเดียวกันก็จะเกิดขึ้นอีกครั้งในอนาคตอันใกล้

พฤติกรรมที่ถูกเลียนแบบโดยทั่วไปมักจะไม่ได้มาจากการสังเกตการณ์ในชีวิตจริงของผู้ก่อเหตุ แต่มักจะเป็นการได้รับข้อมูลผ่านรายงานข่าวของสื่อไม่ว่าจะเป็นสำนักข่าวหรือสื่อออนไลน์ต่างๆ มีผลการศึกษาจากหลายแห่งสรุปตรงกันว่า ยิ่งสื่อนำเสนอรายละเอียดของเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็นภาพใบหน้าหรือชื่อของผู้ก่อเหตุ รวมทั้งวิธีและขั้นตอนในการลงมือ ยิ่งละเอียดมากเพียงใด ก็ยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงตามมาได้มากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญทางอาชญากรรมระบุว่า ก่อนที่คนร้ายจะก่อเหตุรุนแรงไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม เขามักจะเคยเห็นสื่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นๆ มาก่อน ข่าวเหล่านั้นทำให้เขารู้สึกถึงความเชื่อมโยงบางอย่างที่คล้ายกับตน เกิดแรงบันดาลใจที่จะลงมือทำมันให้สำเร็จ เพราะเห็นคนต้นแบบและวิธีการอย่างละเอียดแล้วจากสื่อ 

เหตุการณ์แต่ละครั้งยิ่งเกิดความอื้อฉาวมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแปลความได้ถึงการให้ความสำคัญของผู้ก่อเหตุมากขึ้นเท่านั้น การเผยแพร่ภาพผู้ก่อเหตุถือปืน จำนวนผู้เสียชีวิตที่ได้รับการรายงาน เป็นข้อบ่งชี้ถึงความสำเร็จของการก่อเหตุ รวมไปถึงการรายงานลำดับเหตุการณ์ การปฏิบัติการของผู้ก่อเหตุ ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด ล้วนเป็นแรงผลักดันให้เกิดบุคคลอื่นทำการเลียนแบบพฤติกรรมหรือ Copycat นั้นเอง

ที่มา : thairath

You may also like

Leave a Comment