จากข่าวดังที่สะเทือนวงการบันเทิงเกาหลีที่มีนักร้องสาว ซอลลี่ (Sulli) อดีตนักร้องเกิล์กรุ๊ปวง f(x) ถูกพบว่าเสียชีวิตในบ้านพักของเธอ ตามเวลาประเทศเกาหลีในช่วงบ่ายของวันที่ 14 ตุลาคม 2562 สร้างความเสียใจให้กับแฟนคลับเป็นอย่างมาก โดยที่ตอนนี้ทางตำรวจตำรวจเกาหลีใต้ ยืนยันการเสียชีวิตของซอลลี่ มาจากการฆ่าตัวตาย ด้วยการแขวนคอในบ้านพัก โดยมีสาเหตุจากเธอมีอาการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง
ซึ่งในวงการบันเทิงไทยก็มีดาราและ ศิลปินหลายคน ที่ตัดสินใจจบชีวิตตัวเองจากอาการของโรคซึมเศร้า ย้อนไปเมื่อปี 2546 วันที่ 20 ก.พ. โจ้ อัมรินทร์ เหลืองบริบูรณ์ หรือ โจ้ วงพอส นักร้องที่มีน้ำเสียงเป็นเอกลักษณ์ เสียชีวิตจากการยิงตัวตายภายในลิฟต์ อีกหนึ่งนักร้องดังอย่าง “สิงห์“ ประชาธิป มุสิกพงศ์ หรือ “สิงห์ สควีซ แอนิมอล” ตัดสินใจจบชีวิตด้วยการกระโดดลงมาจากที่พักย่านทองหล่อ ช่วงกลางดึกวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 และเมื่อไม่นานมานี้เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2562 ที่ผ่านมา “เหม ภูมิภาฑิต” นักแสดงและพิธีกรเลือกจบชีวิตด้วยการใช้ผ้าผูกคอตัวเองภายกับราวระเบียงห้องพักภายในคอนโดห้องพัก โรคซึมเศร้าคืออะไร ทำไมถึงส่งผลให้เกิดเหตุการณ์น่าเศร้าเหล่านี้
โรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่มีผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมถึงสุขภาพทางกาย แต่ที่คนส่วนใหญ่รู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าก็มักจะนึกถึงเพียงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไป จึงคิดว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดหวัง หรือการได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ และจะสามารถรักษาหรือแก้ไขได้ด้วยการให้กำลังใจ ซึ่งในความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่เกิดจากความไม่สมดุลของสารสื่อประสาท 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์เอปิเนฟริน และโดปามีน จึงจำเป็นที่ต้องได้รับการรักษาจากจิตแพทย์ เพราะนอกจากจะต้องบำบัดอย่างถูกวิธีแล้ว ยังอาจจะต้องใช้ยาในการรักษาร่วมด้วย
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งคุณสามารถช่วยผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าได้ โดยที่ เข้าหาและบอกว่า ยินดีช่วยเหลือ พร้อมรับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ ภาวะซึมเศร้าจะดีขึ้นใน 2-3 สัปดาห์แต่ต้องดูแลให้ได้รับยาครบตามที่แพทย์สั่งด้วยความอดทนใจเย็น
ในกรณีของซอลลี่ โรคซึมเศร้าอาจมีสาเหตุจากความเครียด จากการโดน Cyber bully ที่ซอลลี่ต้องเผชิญและกลายเป็นโรคซึมเศร้ามาอย่างยาวนาน การกลั่นแกล้งรังแกบนโลกไซเบอร์ หรือที่เรียกว่า Cyber bullying เป็นการทำร้ายกันทางความรู้สึกหรือจิตใจ เช่น การโพสต์ข้อความ ภาพ หรือคลิปวิดีโอเพื่อด่าทอ ส่อเสียด ประจาน แฉ โจมตี ข่มขู่ หรือใช้ถ้อยคำหยาบคาย ทำให้เหยื่อเกิดความอับอาย เสียใจ หรือเสื่อมเสียชื่อเสียง แพร่กระจายออกไปอย่างกว้างขวางและรวดเร็วเมื่อมีการส่งต่อ การตอบโต้กันไปมาโดยมีคนในโลกไซเบอร์มาผสมโรงด้วยความคิดความเชื่อหรือความเห็น ของตัวเอง เป็นการกระทำซ้ำๆ ไม่ใช่ครั้งเดียวแล้วเลิก ซอลลี่ได้รับโอกาสเป็นพิธีกรรายการ Reply Night รายการโทรทัศน์ของประเทศเกาหลี ซึ่งซอลลี่ เคยต้องยืนอ่านคอมเมนต์เกลียดชังที่มีต่อตัวเธอเองในรายการหลายต่อหลายคอมเมนต์ และเผยถึงวิธีรับมือต่างๆด้วยรอยยิ้ม รวมถึงยอมรับผ่านรายการว่าเธอเคยรู้สึกแย่มากๆกับความเกลียดชังเหล่านั้น แต่ก็พยายามรับมืออย่างดีที่สุด โดยในกรณีของซอลลี่นั้นได้สร้างความตื่นตัวเกี่ยวกับ Cyber bully มากขึ้นโดยประเทศเกาหลีได้ร่างกฏหมายที่เรียกว่า กฎหมายซอลลี่ หรือ Sulli Law โดยมีจุดมุ่งหมายในการจัดการ บุคคลที่โพสต์ภาพหรือข้อความ เพื่อด่าทอ ส่อเสียด และใช้ถ้อยคำหยาบคาย เพื่อทำให้เหยื่อเกิดความอับอายหรือเสียใจ อย่างเข้มงวด ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายลักษณะนี้โดยตรง แต่ยังสามารถนำกฎหมายที่มีอยู่มาปรับใช้ได้ เช่น กฎหมายประมวลผลอาญา มาตรา 397 ผู้ใดกระทำด้วยประการใดๆ ต่อผู้อื่น อันเป็นการรังแก ข่มเหง คุกคาม หรือกระทำให้ได้รับความอับอายหรือเดือดร้อนรำคาญ ต่อหน้าสาธารณะ หรือธารกำนัล มีโทษต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
การที่เราจะช่วยเหลือบุคคลอื่นได้นั้น ตัวเราเองต้องแข็งแรงก่อน เพราะการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นไม่ง่าย ผู้ดูแลต้องหมั่นดูแลตัวเองให้มีสุขภาพทั้งใจและแข็งแรง ไม่จมดิ่งลงไปตามผู้ป่วย มิเช่นนั้นแล้ว ทั้งผู้ดูแลและผู้ถูกดูแลอาจจะแย่กันทั้งหมด โดยความเป็นห่วงจาก GIZTIX ครับ
ข้อมูลจาก : sanook, thaidepression, johjaionline, tnnthailand, theprototype, phyathai