ระบบโลจิสติกส์ภายในประเทศ หรือ Domestic Logistics Services คือ การควบคุมและจัดการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายหรือการส่งสินค้าภายในประเทศให้มีประสิทธิภาพ โดยโลจิสติกส์ภายในประเทศจะมีตัวเลือกในการขนส่งที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น การขนส่งทางบก, ทางน้ำ, และทางอากาศ ซึ่งการขนส่งที่นิยมใช้มากที่สุดคือการขนส่งทางบก เนื่องจากการขนส่งทางบกเป็นรูปแบบการขนส่งที่สามารถเข้าถึงได้ทุกสถานที่ ใช้ต้นทุนในการขนส่งน้อย สะดวกสบาย และใช้เวลาในการส่งที่รวดเร็ว
ปัจจุบันประเทศไทยพยายามพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้เป็นศูนย์กลางของประชาคมอาเซียน (Logistics Hub) จึงผลักดันและสร้างจุดแข็งให้กับระบบโลจิสติกส์ โดยทำให้การขนส่งสามารถทำได้ต่อเนื่องหลายรูปแบบ ( Multi modal Transport Operator ) หรือทำให้เป็นการขนส่งแบบผสมผสาน อาทิเช่น การขนส่งต่อเนื่องระหว่างทางบกกับทางทะเล และการขนส่งต่อเนื่องระหว่างทางทะเลกับทางอากาศ ซึ่งการขนส่งจะอยู่ภายใต้ผู้ประกอบการเพียงเจ้าเดียว หรือสามารถทำได้โดยอยู่ภายใต้สัญญาการขนส่งเพียงฉบับเดียว มีการคิดอัตราค่าขนส่งเดียวตลอดการขนส่ง และผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบจะหน้าที่รับผิดชอบต่อการขนส่งตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ซึ่งการขนส่งแบบต่อเนื่องมีวัตถุประสงค์ คือ ช่วยลดระยะเวลาของการขนส่ง ลดต้นทุน และมีศักยภาพในการแข่งกับต่างประเทศ
นอกจากนี้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น จึงทำให้การทำงานของระบบโลจิสติกส์สามารถทำได้ง่ายขึ้นไปอีก ยกตัวอย่างเช่น การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร รับข้อมูล และการติดตั้ง GPS ในรถขนส่งเพื่อติดตามสถานะการขนส่งและเพิ่มความปลอดภัยต่อการขนส่ง
GIZTIX แอพพลิเคชันและเว็บไซต์ ที่ให้บริการจองรถขนส่งแบบเหมาคัน สามารถเช็คราคา และติดตามสถานะได้ด้วยตนเอง