สำหรับผู้ที่มีรถยนต์ของตนเองการทำประกันภัยรถยนต์ ถือเป็นเรื่องที่จำเป็นและมีความสำคัญอย่างมาก เพราะนอกจากประกันภัยจะช่วยคุ้มครองในเรื่องอุบัติเหตุหรือเกิดเหตุอันตรายต่าง ๆ ที่เกิดกับรถยนต์แล้ว ก็ยังให้ความคุ้มครองตัวผู้ขับขี่ คู่กรณีหรือสถานการณ์อื่น ๆ ซึ่งเจ้าของรถมือใหม่หลายท่าน อาจจะยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับ” ประกันภัยรถยนต์” ประเภทต่างๆ ดีนัก
ประกันภัยรถยนต์ จะถูกแบบออกเป็น 2 ประเภท คือ ภาคบังคับ หรือที่เรียกว่า พรบ. และ ภาคสมัครใจ หลายท่านอาจไม่คุ้นกับคำว่า ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ
ประกันภัยรถยนต์คืออะไร
ประกันภัยรถยนต์คือการจ่ายค่าประกันความเสี่ยงรถยนต์ล่วงหน้า ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น อุบัติเหตุ การจารกรรม รวมถึงให้การคุ้มครองไปจนถึงเจ้าของรถ คู่กรณี หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งการทำประกันภัยรถยนต์นั้น แบ่งเป็น 2 ภาค ได้แก่
1. ประกันภัยภาคบังคับ ได้แก่ พรบ. กฎหมายบังคับรถทุกคันต้องทำ สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่ไม่ใช่รถรับจ้าง หรือรถเช่า จะกำหนดให้จำหน่ายราคาเดียวกันทุกบริษัทประกันภัยซึ่งให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร
บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย
2. ประกันภัยภาคสมัครใจ ซึ่งเป็นการทำประกันภัยที่ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของผู้เป็นเจ้าของรถเองที่จะทำหรือไม่ทำก็ได้ โดยให้การครอบคลุมใน 3 เรื่อง ได้แก่ ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ความรับผิดต่อตัวรถยนต์ที่เอาประกันซึ่งได้รับความเสียหาย สูญหาย ไฟไหม้และความคุ้มครองเรื่อง อุบัติเหตุส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ส่วนที่เกินจาก พรบ. และการประกันตัวผู้ขับขี่ในคดีอาญา โดยจะมีให้เลือกหลายประเภท ได้แก่
- ประกันชั้น 1 คือประกันที่ครอบคลุมทั้งยานพาหนะ ชีวิต การบาดเจ็บ ของทั้งผู้ขับ คู่กรณี และบุคคลที่สามที่ได้รับผลกระทบ
- ประกันชั้น 2 ครอบคลุมความเสียหายกับยานพาหนะทุกคันที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเหตุรถหาย และไฟไหม้ เหมาะสำหรับรถที่มีอายุ 7 ปีขึ้นไป
- ประกันชั้น 3 ครอบคลุมทรัพย์สินและชีวิตของคู่กรณีและบุคคลภายนอก รวมไปถึงค่ารักษาพยาบาลของคนขับ และผู้โดยสารของรถที่เอาประกัน
- ประกันชั้น 3+ ครอบคลุมเหมือนกับประกันรถยนต์ชั้น 3 แต่เพิ่มการคุ้มครองรถยนต์ของผู้เอาประกันด้วย เฉพาะในกรณีที่มีการชน และมีคู่กรณีเท่านั้น จะไม่คุ้มครองในกรณีความเสียหายต่อตัวรถยนต์ในกรณีที่ไม่มีคู่กรณี
- ประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะเหมือนกับประกันรถยนต์ชั้น 3+ แต่เพิ่มความคุ้มครองในกรณีที่รถหาย หรือเหตุไฟใหม้
ผลประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้างที่เพิ่มเติมจากประกันภัยรถยนต์
นอกจากกฎหมายจะกำหนดให้เจ้าของรถยนต์ทำประกันภัยรถยนต์ ภาคบังคับ ตามประเภทของรถเพื่อลดความเสี่ยงและให้ความคุ้มครองต่อการสูญเสียของชีวิตเป็นสิ่งสำคัญแล้ว ความคุ้มครองดังกล่าว ไม่เพียงมีผลต่อผู้ขับขี่ ผู้โดยสารและคู่กรณีเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงบุคคลอื่นที่ใช้ถนนและประสบภัยทางรถยนต์เช่นเดียวกัน ในขณะที่การทำประกันรถยนต์ยังมีรูปแบบของการประกันภัยภาคสมัครใจที่มีข้อดีอื่น ๆ อีก ที่ผู้ขับขี่รถยนต์และเจ้าของรถอาจไม่ทราบ ว่ามีผลประโยชน์คุ้มครองอะไรบ้าง ที่เพิ่มเติมจากประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ซึ่งสรุปข้อดี ดังนี้
1. ผู้ประสบเหตุทางรถยนต์ไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน
2. ไม่ว่าถูกหรือผิดก็มีสิทธิ์ได้รับค่าเสียหายตามประเภทกรมธรรม์
3. รับเงินก้อนตามทุนประกัน กรณีรถยนต์สูญหาย, ถูกโจรกรรมหรือเกิดเหตุไฟไหม้
4. งานไม่สะดุด ชีวิตไม่ติดขัด แม้รถประสบเหตุก็มีรถไว้ใช้งานได้ต่อเนื่อง
5. ขอรับบริการฉุกเฉินตลอด 24 ชั่วโมง
การเรียกค่าสินไหมระหว่างนำรถเข้าซ่อม
กรณีรถยนต์ที่เราขับเกิดอุบัติเหตุ แต่เราเป็นฝ่ายถูก แล้วจะต้องนำเอารถยนต์เข้าอู่ หรือเข้าศูนย์เพื่อรับบริการซ่อมรถยนต์ โดยการซ่อมนั้นไม่สามารถทำเสร็จได้ภายในหนึ่งวัน ซึ่งอาจจะทำให้เราต้องเสียเวลา เสียงาน และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในการเดินทาง จริงๆแล้วหลายคนยังไม่รู้ว่าเราสามารถเรียกค่าสินไหมระหว่างซ่อมจากคู่กรณีได้ นอกจากนี้ตามพ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ให้ความคุ้มครองผู้ที่ประสบอุบัติเหตุจากรถ ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หากได้รับความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย (ไม่รวมทรัพย์สินที่เสียหาย) โดยจะดำเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น (จ่ายโดยไม่รอผลพิสูจน์ความรับผิด) เมื่อเกิดอุบัติเหตุจากรถ และ
รถคันที่เกิดอุบัติเหตุมีประกันภัย พ.ร.บ. บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน
โดยจ่ายเป็นค่าเสียหายเบื้องต้น ภายใน 7 หลังจากพิสูจน์ความรับผิดแล้วจึงจะดำเนินการ จ่ายค่าสินไหมทดแทน
ผู้รับสิทธิประโยชน์
กรณีที่เราขับรถแล้วประสบอุบัติเหตุหากเราเป็นฝ่ายถูก เราสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากคู่กรณีได้ (ตาม ป.พ.พ แล้ว ถือว่าเป็นฝ่ายถูกละเมิด) และหากคู่กรณีของคุณที่มีประกันภัยรถยนต์สามารถเรียกร้องจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณีได้ แต่หากบริษัทประกันภัยไม่ยอมจ่าย คุณสามารถตามจากคู่กรณีได้ โดยขอให้คู่กรณีติดตามจากบริษัทประกันภัยของเขา นอกจากการเรียกสินไหมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถระหว่างซ่อมแล้ว เรายังสามารถเรียกร้องค่าเสื่อมราคาจากการประสบอุบัติเหตุได้อีกด้วย
จะเตรียมตัวก่อนทำประกันรถยนต์อย่างไร
สิ่งสำคัญที่สุดคือการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับเงื่อนไขและประเภทของการทำประกันภัยแต่ละบริษัทว่าให้การครอบคลุมถึงเรื่องใดบ้าง รวมถึงทำการตรวจสอบในเรื่องของโปรโมชั่น ส่วนลด และราคาเบี้ยประกันให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจเลือกบริษัททำประกัน ที่สำคัญคือตรวจสอบดูว่าบริษัทประกันนั้นใช้บริการซ่อมแซมกับศูนย์หรืออู่รถยนต์ใด มีความน่าเชื่อถือและได้มาตฐานในการบริการหรือไม่ จากนั้นให้ทำการเตรียมเอกสารต่าง ๆ ที่บริษัทประกันจะต้องใช้ เช่น เล่มทะเบียนรถ สภาพรถ เอกสารที่สำคัญเกี่ยวกับรถหรือเอกสารส่วนตัวเพื่อใช้ในการอนุมัติ เพียงเท่านี้ จะทำให้สามารถมั่นใจได้ว่า การทำประกันรถยนต์ของคุณ จะเป็นการทำประกันที่ปลอดภัย คุ้มค่า ได้มาตรฐาน และรวมถึงเป็นการทำประกันรถยนต์ที่ไม่เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์อย่างแน่นอน
แน่นอนว่าการทำประกันภัยเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างมาก ดังนั้น GIZTIX จึงมีนโยบายในการคุ้มครองสินค้าระหว่างการขนส่งด้วยวงเงินคุ้มครองสูงสุดถึง 1,000,000 บาท เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่า สินค้าของคุณจะถูกดูแลเป็นอย่างดี
อ่านรายละเอียดการรรับประกันการขนส่งสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่ ประกันภัยสินค้าระหว่างขนส่งกับGIZTIX