โครงการท่าเรือ Tuas ซึ่งมี เป้าหมายที่จะขยายท่าเรือสิงคโปร์ ท่ามกลางการแข่งขันจากท่าเรือ ภูมิภาคและทั่วโลกอื่นๆ ท่าเรือ Tuas แห่งใหม่ซึ่งจะมีพื้นที่ 1,339 เฮกตาร์ หรือ 13.39 ล้านตารางเมตร ขนาด ใหญ่กว่าเขต Ang Mo Kio ถึง 2 เท่า จะเปิดให้บริการตั้งแต่ปี2564 และ เมื่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2583 จะ สามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 65 ล้าน หน่วยเทียบเท่า/มากกว่าสองเท่าของ การขนส่งที่ท่าเรือเดิมในปี2559 และจะสามารถรองรับการด าเนินการของท่าเรือในปัจจุบัน ได้แก่ Pasir Panjang, Tanjong Pagar, Keppel และ Brani Terminal Mr. Andrew Tan ผู้บริหารการท่าของสิงคโปร์ (Maritime and Port Authority of Singapore : MPA) กล่าวว่า ในฐานะที่สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและเปิดเสรี การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกจะส่งผลต่อ สิงคโปร์โดยตรง อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงเป็นศูนย์กลางท่าเรือแห่งโลกและศูนย์การเดินเรือระหว่างประเทศ สิงคโปร์ผลักดันท่าเรือให้มีมาตรฐานระดับโลก แม้ว่าจะชะลอตัวในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปริมาณเรือของ PSA (Port Singapore Authority) ยังอยู่ในระดับที่ดี เรือ บรรทุกสินค้ามีอัตราเพิ่มขึ้นและมีเรือเพิ่มขึ้นภายใต้ทะเบียนของสิงคโปร์ อีกทั้งปริมาณเรือบังเกอร์ (Bunker) ยังคงสูงอยู่ด้วย
ท่าเรือยักษ์ Tuas ของสิงคโปร์ซึ่งจะเป็ดใช้เป็นส่วนๆ ไป ตั้งแต่ปี 2564 ด้วยการใช้เทคโนโลยีและ ระบบอัตโนมัติในการด าเนินงานเป็นส่วนใหญ่อาทิ
- Drones นอกจากสามารถใช้เพื่อการส่งมอบเรือเข้าเทียบท่า ยังสามารถส่งไปตรวจสอบความ เสียหายของเรือได้อีกด้วย
- Green Technology โดยการใช้ Cranes และรถระบบอัตโนมัติ จะเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าเต็มตัว รวมถึงใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
- Automated Technology โดยการใช้ระบบอัตโนมัติในส่วนต่าง ๆ อาทิ Quay Cranes, Yard Cranes และ Guided Vehicles รวมถึงการ loading/unloading, Computers, Sensors and Cameras (ระบบเดิม กัปตันต้องส่งข้อมูลก่อน 24 ชั่วโมง โดยส่งทางอีเมล์หรือแฟกซ์หรือเทเลกซ์)
- Tracking Arriving Vessels ซึ่งกัปตันเรือสามารถแจ้ง MPA ทางระบบดิจิทัล และระบบการ จัดการท่าเรือจะใช้ Cloud computing, data analytics, smart algorithms, sensors และ ระบบการสื่อสารชั้นน าในการจัดการและจัดเรือเข้าเทียบท่า ทั้งนี้ การสื่อสารโดยการจะลดลงมาก
- Single sharing Portal ผ่านระบบ Single Government Portal (ระบบเดิม กัปตันเรือต้องยื่น เอกสารผ่านหน่วยงานหลายแห่ง คือ MPA ส าหรับเรือ, Immigration and Checkpoints Authority ส าหรับลูกเรือและผู้โดยสาร และ National Environment Agency ส าหรับการตรวจ สุขอนามัย)
- Just-in-Time Arrival System เป็นระบบที่จะใช้ในอนาคตเมื่อเรือเข้าสู่น่านน้ าสิงคโปร์และน าเรือ เข้าเทียบท่า เพื่อลดเวลาและบุคลากร กัปตันเรือไม่จ าเป็นต้องติดต่อผ่านระบบวิทยุและรอให้ Marine Pilot มานาเรือเข้าเทียบท่า
ขอขอบคุณ
เนื้อหาที่น่าสนใจจาก: DITP
ที่มา: https://goo.gl/NycJYJ