Home Knowledges Tuas Mega Port ท่าเรือในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ และไฮเทค

Tuas Mega Port ท่าเรือในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ และไฮเทค

by Giztix
7054 views
Tuas Mega Port ท่าเรือในอนาคตที่มีประสิทธิภาพ และไฮเทค

โครงการท่าเรือ Tuas ซึ่งมี เป้าหมายที่จะขยายท่าเรือสิงคโปร์ ท่ามกลางการแข่งขันจากท่าเรือ ภูมิภาคและทั่วโลกอื่นๆ ท่าเรือ Tuas แห่งใหม่ซึ่งจะมีพื้นที่ 1,339 เฮกตาร์ หรือ 13.39 ล้านตารางเมตร ขนาด ใหญ่กว่าเขต Ang Mo Kio ถึง 2 เท่า จะเปิดให้บริการตั้งแต่ปี2564 และ เมื่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2583 จะ สามารถขนส่งสินค้าได้ถึง 65 ล้าน หน่วยเทียบเท่า/มากกว่าสองเท่าของ การขนส่งที่ท่าเรือเดิมในปี2559 และจะสามารถรองรับการด าเนินการของท่าเรือในปัจจุบัน ได้แก่ Pasir Panjang, Tanjong Pagar, Keppel และ Brani Terminal Mr. Andrew Tan ผู้บริหารการท่าของสิงคโปร์ (Maritime and Port Authority of Singapore : MPA) กล่าวว่า ในฐานะที่สิงคโปร์เป็นประเทศเล็กและเปิดเสรี การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจโลกจะส่งผลต่อ สิงคโปร์โดยตรง อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ยังคงเป็นศูนย์กลางท่าเรือแห่งโลกและศูนย์การเดินเรือระหว่างประเทศ สิงคโปร์ผลักดันท่าเรือให้มีมาตรฐานระดับโลก แม้ว่าจะชะลอตัวในปัจจุบัน ทั้งนี้ ปริมาณเรือของ PSA (Port Singapore Authority) ยังอยู่ในระดับที่ดี เรือ บรรทุกสินค้ามีอัตราเพิ่มขึ้นและมีเรือเพิ่มขึ้นภายใต้ทะเบียนของสิงคโปร์ อีกทั้งปริมาณเรือบังเกอร์ (Bunker) ยังคงสูงอยู่ด้วย

ท่าเรือยักษ์ Tuas ของสิงคโปร์ซึ่งจะเป็ดใช้เป็นส่วนๆ ไป ตั้งแต่ปี 2564 ด้วยการใช้เทคโนโลยีและ ระบบอัตโนมัติในการด าเนินงานเป็นส่วนใหญ่อาทิ

  1. Drones นอกจากสามารถใช้เพื่อการส่งมอบเรือเข้าเทียบท่า ยังสามารถส่งไปตรวจสอบความ เสียหายของเรือได้อีกด้วย
  2. Green Technology โดยการใช้ Cranes และรถระบบอัตโนมัติ จะเปลี่ยนไปใช้ระบบไฟฟ้าเต็มตัว รวมถึงใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์
  3. Automated Technology โดยการใช้ระบบอัตโนมัติในส่วนต่าง ๆ อาทิ Quay Cranes, Yard Cranes และ Guided Vehicles รวมถึงการ loading/unloading, Computers, Sensors and Cameras (ระบบเดิม กัปตันต้องส่งข้อมูลก่อน 24 ชั่วโมง โดยส่งทางอีเมล์หรือแฟกซ์หรือเทเลกซ์)
  4. Tracking Arriving Vessels ซึ่งกัปตันเรือสามารถแจ้ง MPA ทางระบบดิจิทัล และระบบการ จัดการท่าเรือจะใช้ Cloud computing, data analytics, smart algorithms, sensors และ ระบบการสื่อสารชั้นน าในการจัดการและจัดเรือเข้าเทียบท่า ทั้งนี้ การสื่อสารโดยการจะลดลงมาก
  5. Single sharing Portal ผ่านระบบ Single Government Portal (ระบบเดิม กัปตันเรือต้องยื่น เอกสารผ่านหน่วยงานหลายแห่ง คือ MPA ส าหรับเรือ, Immigration and Checkpoints Authority ส าหรับลูกเรือและผู้โดยสาร และ National Environment Agency ส าหรับการตรวจ สุขอนามัย)
  6. Just-in-Time Arrival System เป็นระบบที่จะใช้ในอนาคตเมื่อเรือเข้าสู่น่านน้ าสิงคโปร์และน าเรือ เข้าเทียบท่า เพื่อลดเวลาและบุคลากร กัปตันเรือไม่จ าเป็นต้องติดต่อผ่านระบบวิทยุและรอให้ Marine Pilot มานาเรือเข้าเทียบท่า

ขอขอบคุณ

เนื้อหาที่น่าสนใจจาก: DITP

ที่มา: https://goo.gl/NycJYJ

Leave a Comment