Home Business News “New Normal” โลกใบเดิมกับเทรนด์ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังพ้นภัย Covid-19

“New Normal” โลกใบเดิมกับเทรนด์ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังพ้นภัย Covid-19

by Giztix
2970 views
“New Normal” โลกใบเดิมกับเทรนด์ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังพ้นภัย Covid-19

วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไม่ใช่สิ่งใหม่ในประวัติศาสตร์โลก ทั้งการแพร่ระบาดของอหิวาตกโรค กาฬโรค โรคฝีดาษ และไข้หวัดใหญ่ในยุโรป ล้วนคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมหาศาลในระยะเวลาอันรวดเร็ว และเปลี่ยนโฉมพัฒนาการของมนุษยชาติ ซึ่งในปัจจุบันโลกของเราก็กำลังเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดที่หนักหน่วงอีกครั้ง นั่นก็คือการอุบัติขึ้นของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ที่ส่งผลทั้งด้านสุขอนามัยของมนุษย์ สังคม และสภาพเศรษฐกิจ  ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด – 19 ที่เกิดขึ้นได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้คนส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวล ซึ่งนำมาสู่การป้องกันสุขภาพอนามัย และก่อให้เกิดการทำงาน แบบ Work From Home รวมถึงธุรกิจต่างๆ ที่มีการปรับบริการรับความต้องการ  เหล่านี้กำลังจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอนาคตและอาจเกิดเป็น “New Normal” หรือ โลกใหม่ใบเดิม ที่เปลี่ยนวิถีชีวิต การทำงาน ธุรกิจต่าง ๆ ไปอย่างสิ้นเชิง 

คำว่า “New Normal” หรือความปกติในรูปแบบใหม่ ถูกนำมาใช้ในปี 2551 โดย Bill Gross (Co-Founder ของบริษัท Pacific Investment Management) ซึ่งให้นิยามถึงสถาวะเศรษฐกิจโลก ที่อัตราการเติบโตชะลอตัวลงจากในอดีตและเข้าสู่การเติบโตเฉลี่ยนระดับใหม่ที่ตํ่ากว่าเดิม ควบคู่ไปกับอัตรการว่างงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือแปลสั้นๆก็คือ ความปกติที่ไม่ปกติอีกต่อไป ซึ่งจะเห็นจาก 5 สิ่งที่น่าจับตาหลังการจบลงของวิกฤตการณ์โควิด – 19 คือ

ภูมิรัฐศาสตร์

จากวิกฤตการณ์ COVID-19 ที่เกิดขึ้น จีนเป็นประเทศแรกที่ได้รับผลกระทบ ภาคการผลิตของจีนที่หยุดชะงักส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่มูลค่าโลกและทุกภูมิภาคทั่วโลก ทั้งผู้ผลิตต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ รวมถึงผู้บริโภค แต่จีนสามารถเข้าสู่ระยะฟื้นฟูได้รวดเร็วด้วยมาตรการต่อสู้กับการแพร่ระบาดของไวรัสที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นโอกาสสำหรับธุรกิจและเศรษฐกิจของจีน ที่จะฟื้นกลับมาได้ด้วยอัตราเร่งในขณะที่พื้นที่เศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกายังบอบช้ำ

อุตสาหกรรมกับการพึ่งพาตัวเอง

สำหรับยุคนี้ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 มีการนำคำว่า “New Normal” มาใช้อีกครั้ง อย่างแรกคือนักวิเคราะห์หลายๆท่านมองว่าการลงทุนของโลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง ตัวอย่างเช่น ฐานการผลิตต่างๆได้กระจายไปผลิตตามที่ประเทศต่างๆ ตามประสิทธิภาพของประเทศนั้นๆ อาจเป็นเพราะ เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโรค Covid-19 ประเทศที่เป็นผู้ผลิตทั้งหลายปิดประเทศ ทำให้สายการผลิตต้องหยุดชะงักแบบไปต่อไม่ได้ ทำให้บริษัทต่างๆต้องหันมาเก็บการผลิตไว้ในประเทศตนเองมากขึ้น

เทคโนโลยีดิจิทัล

การเปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือรูปแบบการเรียนและการทำงาน อย่างที่เราได้เห็นในหลายๆหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่มีการปรับเป็นการทำงานแบบ Work from home และ การ Learn from home จึงจำเป็นต้องเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งจะช่วยเชื่อมต่อกับโลกภายนอกมากขึ้นเช่นการใช้งานระบบประชุมออนไลน์ การใช้เงินดิจิทัล การดูหนังออนไลน์ การเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์อีกทั้งการใช้งาน E-Commerce ผ่านแฟลทฟอร์มดิจิทัลต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ผู้บริโภคมีความคุ้นชินและเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้น ซึ่งกลุ่มที่ได้ประโยชน์ก็น่าจะเป็นกลุ่มที่พัฒนาระบบ Digital หรือ E-Commerce  และการลงทุนด้านสาธารณะสุขอาจจะมีความสำคัญมากขึ้นไปอีก

การเติบโตของธุรกิจสตาร์ทอัพ

ธุรกิจสตาร์ตอัพเกิดจากความต้องการแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภค และเติบโตอย่างก้าวกระโดดด้วยการลงทุนของนักลงทุน วิกฤตการณ์ COVID-19 ทำให้ระบบเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ผู้บริโภคส่วนใหญ่หันไปให้ความสำคัญกับปัจจัยพื้นฐานมากกว่าความต้องการใหม่ ๆ นักลงทุนจะชะลอการลงทุนเพราะต้องเก็บเงินไว้ใช้เพื่อฟื้นฟูธุรกิจ ส่งผลกระทบต่อการเติบโตของธุรกิจสตาร์ตอัพ แต่ในขณะเดียวกันอาจเป็นโอกาสสำหรับสตาร์ตอัพกลุ่มดิจิทัลและกลุ่มเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะเข้ามาแก้ปัญหาเร่งด่วน หรือตอบโจทย์พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภค

การฟื้นฟูเศรษฐกิจ

ผลกระทบจากการดำรงชีวิตแบบเว้นระยะจากสังคมหรือ Social Distancing และการปิดประเทศ ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ใช้แรงงาน ธุรกิจบริการ ผู้ประกอบการขนาดย่อมและขนาดเล็ก ผลกระทบจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นหากกินเวลานาน ผู้ที่สามารถยืดระยะได้จะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีเงินสำรองสูง มีธุรกิจรองรับหลากหลาย หรืออยู่ในภาคการผลิตที่พร้อมจะกลับมาได้รวดเร็ว เมื่อวิกฤตการณ์ผ่านพ้นไป ภาครัฐ และ ธุรกิจขนาดใหญ่ จะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ภาครัฐต้องดูแลไม่ให้เกิดการผูกขาดและเกิดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขัน และต้องทำงานร่วมกับธุรกิจขนาดใหญ่อย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดการจ้างงาน การบริโภค และการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

สำหรับ “New Normal” คาดว่าจะเป็นโอกาสของธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพ และการปรับตัว พฤติกรรมการสวมหน้ากากอนามัยและการใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือจะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ขณะที่ทางด้าน Social Distancing ทำให้หันมาใช้ระบบทางออนไลน์มากขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมคน ของธุรกิจ และของสังคมในช่วงระบาดนี้และอาจจะกินเวลาไปอีกนานจนกว่าจะได้ยารักษาที่สามารถป้องกันได้ 100%

ที่มา : thebangkokinsight

You may also like

Leave a Comment