Home Business News “ธุรกิจ” ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Social Distancing

“ธุรกิจ” ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Social Distancing

by Giztix
2280 views
“ธุรกิจ” ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุค Social Distancing

วิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19 เป็นอีกหนึ่งสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบกับหลายธุรกิจต่างประสบปัญหา หรือถึงขั้นต้องหยุดกิจการชั่วคราวหรือปิดกิจการ รวมถึงผู้บริโภคที่ไม่อาจใช้ชีวิตได้แบบเดิม ซึ่งนอกจากจะมีการรณรงค์ให้ทุกคนสวมหน้ากากอนามัย กินร้อน ช้อนกลางและล้างมือแล้ว ยังมีมาตรการที่ได้ถูกกำหนดใช้อย่างแพร่หลายนั่นก็คือ “Social Distancing” เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ COVID-19

แม้หลายธุรกิจได้มีนโยบายเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง เช่น Work From Home, การจัดทำ Business Continuity Plan และ Business Continuity Management ถือเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับองค์กรที่กำลังเผชิญกับผลกระทบจาก COVID-19 แต่ความท้าทายสำหรับผู้นำและเจ้าของธุรกิจที่สำคัญ ก็คือ ระหว่างวิกฤต COVID-19 ซึ่งอาจจะกินเวลา 3-6 เดือน หรือ มากกว่านั้น องค์กรควรดำเนินการอย่างไร เพื่อเตรียมความพร้อมในการ ปรับเปลี่ยนหรือพัฒนาธุรกิจเพื่อก้าวสู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าหรือก้าวเป็นผู้นำในยุคหลัง COVID-19 ซึ่งยุคนี้จะเป็นยุคที่พฤติกรรมผู้บริโภคและรูปแบบธุรกิจได้ถูกบังคับให้เปลี่ยนแปลงไปจากโลกก่อนหน้าวิกฤตนี้

หลายๆธุรกิจที่ได้รับผลกระทบได้มีการปรับตัว เช่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลฯ เปิดให้บริการชั้นซูเปอร์มาร์เก็ตและธนาคารบางสาขา อำนวยความสะดวกด้วย Food Delivery Pick Up Counter จัดระเบียบมาตรการป้องกันและ Social Distancing อย่างเต็มที่ โดยการจัดระเบียบที่นั่งให้พนักงานเดลิเวอรีนั่งคอย โดยมีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 1 เมตร เน้นปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอย่างเข้มงวดถึง 7 มาตรการ เพื่อความปลอดภัยของพนักงานรับส่งอาหาร ลูกค้า และผู้มาใช้บริการทุกคน ทำความสะอาดฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อทุกวัน

ธุรกิจที่ให้บริการในห้างสรรพสินค้าหรือร้านค้า ได้ติดตั้งแผงกั้นอะคริลิคใสที่เคาน์เตอร์บริการ นอกเหนือจากนี้ยังมีการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย, จัดเจลแอลกอฮอล์ทำความสะอาด, ขอความร่วมมือลูกค้าสวมหน้ากากอนามัย, การให้พนักงานสวมหน้ากากอนามัย พร้อม ถุงมือและแว่นตาทุกครั้งที่ให้บริการ

ธุรกิจร้านอาหารก็ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ซึ่งร้านอาหารเหล่านั้นก็ได้หันมาใช้บริการ Delivery กันมากขึ้น ทั้งยังได้เพิ่มมาตรการในการจัดส่งแบบไร้สัมผัส ปรับขายเฉพาะหน้าร้านแบบ Take Home ปรับพื้นที่ให้เป็น Social Distancing เน้นขายอาหารเซ็ตกินคนเดียวมากขึ้น เข้มงวดเพิ่มมาตรการทำความสะอาดขึ้นเป็น 2 เท่าและที่สำคัญ ก็ได้จัดทำ Voucher พิเศษ เพื่อให้กลับมาใช้บริการเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น

เราจะเห็นได้ว่ากับวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบต่อการซื้อขายหรือการเข้าใช้บริการ และต้องใช้เวลานานในการฟื้นฟูเพื่อให้เศรษฐกิจกกลับสู่สภาพเดิม เราต้องปรับปรุงรูปแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ธุรกิจไหนที่ปรับตัวเข้าสู่การขายแบบออนไลน์ได้ธุรกิจนั้นมีสิทธิ์รอดในภาวะเศรษฐกิจอย่างนี้ได้ การวางแผนเป็นพาทเนอร์กับธุรกิจขนส่งต่างๆ ก็สามารถช่วยให้ธุรกิจอยู่รอดได้

You may also like

Leave a Comment